นอกจากจะเป็นงานทอดกฐินแล้ว ยังเป็นการรวมตัวกันของลูกศิษย์จักรพรรดิผู้ใจบุญ พร้อมใจกันจัดโรงทานขึ้น โดยผู้ที่ร่วมทำโรงทานในครั้งนั้นต่างเคยเจอกับปัญหาชีวิตหนักหน่วงมาก่อน จากที่ไม่เคยมี จนตอนนี้สามารถทำและมีทุกอย่างได้ด้วยความตั้งใจ กับฐานดวงที่แข็งขึ้น โชคชะตาชีวิตที่แกร่งขึ้น ซึ่งในตอนนั้นอาจารย์เอได้รู้แล้วว่า ต่อให้เราล้มและลำบากขนาดไหน หากใจเรายังสู้ทุกสิ่งทุกอย่างก็สามารถผ่านพ้นมันไปได้ พร้อมทั้งยังเชื่อว่าคนที่เคยลำบากมาก่อน มักจะเห็นใจและเข้าใจคนที่กำลังเจอกับปัญหาดั่งเช่นเดียวกับเราอย่างลึกซึ้ง
สิ่งที่อาจารย์เอมักสอนลูกศิษย์อยู่เสมอคือการแบ่งปัน ยิ่งมียิ่งแบ่งปัน ยิ่งให้ยิ่งได้ จริง ๆ แล้วอีกหนึ่งความใจตั้งของอาจารย์เอคือการได้ร่วมกันสร้างบุญ สร้างกุศลกับลูกศิษย์ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามอาจารย์เอยังเชื่อด้วยว่า “อาจารย์เป็นเช่นไร ลูกศิษย์ก็จะเป็นดั่งเช่นนั้น” ที่ผ่านมาอาจารย์เอได้ทำให้ลูกศิษย์รุ่นแรก ๆ จนร่ำรวย กลายเป็นเศรษฐีผู้ใจบุญ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่หน้าแปลกใจอย่างมาก ตรงที่ลูกศิษย์ทุกคนของอาจารย์ชอบทำบุญเหมือนกัน
เหมาทั้งตลาด บริจาคทานครั้งใหญ่โรงทานจักรพรรดิ
จากวันที่ได้ร่วมบุญกฐินที่วัดชัยเภรีย์ สิ่งที่อาจารย์เอสังเกตมาตลอดคือ ลูกศิษย์อาจารย์เอทุกคนจะชอบทำบุญทำทานเหมือนกัน ยิ่งคนที่ประสบความสำเร็จ ร่ำรวยจนมั่งคั่งใช้เท่าไหร่ก็ไม่มีหมดจะยิ่งชอบแบ่งปัน อาจารย์เอจึงเกิดความคิดว่าหากลูกศิษย์ทุกคนชอบทำบุญ ถ้ามีสิ่งที่สามารถรวมตัวกันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคม มีกิจกรรมโรงทานเพื่อให้ได้สร้างบุญสัมพันธ์กันคงจะดีไม่น้อย แต่จะเน้นเป็นการทำบุญโรงทานแบบสัญจร อาจจะเริ่มจากพื้นที่ใกล้เคียงก่อน แล้วค่อยไปเขตปริมณฑล จากนั้นพยายามไปให้ได้ทั้ง 4 ภาคอย่างที่ตั้งใจไว้ จนเกิดเป็นชื่อ “โรงทานจักรพรรดิ” ขึ้นในที่สุด
วันเสาร์ ที่ 5 สิงหาคม 2566 คือวันที่จัดกิจกรรมโรงทานจักรพรรดิ ครั้งที่1 โดยใช้ตลาดนัมเบอร์วันมาร์เก็ต (ราม2) เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ซึ่งเริ่มแจกตั้งแต่ เวลา 08:00 – 12:00 น. ภายในงานมีทั้งอาจารย์เอ ทีมงานและศิษย์จักรพรรดิร่วมกันแจกจ่ายข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องจากครั้งนี้เป็นการจัดโรงทานครั้งแรกอาจารย์เอจึงอาสาออกค่าใช้จ่ายด้วยตัวเองทั้งหมด โดยเป็นการเหมาร้านค้าในตลาดนัมเบอร์เพื่อโรงทานครั้งนี้โดยเฉพาะ ที่สำคัญพ่อค้าแม่ค้ามีรายได้จากการจัดโรงทานในครั้งนี้อีกด้วย
จุดเริ่มต้นของ “โรงทานจักรพรรดิ” ได้เริ่มต้นขึ้นที่วัดชัยเภรีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี เนื่องจากในวันนั้น อาจารย์เอเป็นเจ้าภาพบุญกฐิน 10 ล้านบาท โดยมีหลวงพ่อบุญค้ำเป็นเจ้าอาวาส และท่านยังเป็นพระอาจารย์ที่อาจารย์เอให้ความเคารพเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าหลวงพ่อบุญค้ำคือครูบาอาจารย์ที่ได้ถ่ายทอดวิชาเป่าทอง (นะหน้าทอง) ด้านเมตตามหานิยมให้แก่อาจารย์เอจักรพรรดิ แม้แต่พิธีกรรมปรับฐานดวงที่เราทุกคนรู้จักกัน ก็เป็นอีกหนึ่งสายวิชาที่หลวงพ่อบุญค้ำได้ถ่ายทอดให้แก่อาจารย์เออีกเช่นกัน อีกทั้งอาจารย์เอยังเป็นเจ้าภาพสร้างเจดีย์มีวาสนาเพื่อถวายแด่วัดชัยเภรีย์ ส่งผลให้บุญนี้สำเร็จแก่ศิษย์ทุกคน ส่วนหนึ่งใช้เป็นที่ฝากชื่อของผู้ที่ร่วมพิธีปรับฐานดวง เพื่อเสริมความเป็นสิริมงคล และยังถือเป็นการฝากดวงไว้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เปรียบเสมือนการฝากเนื้อฝากตัวให้ท่านได้ดูแลดวง ค้ำดวงของเรานั้นเอง
อีกหนึ่งสิ่งที่เป็นความประสงค์ของอาจารย์เอ คือ การได้ทำนุบำรุงวัดให้ดียิ่งขึ้น จึงถือโอกาศในวันอาทิตย์ ที่ 9 เมษายน 2566 ร่วมกันเป็นเจ้าภาพบุญผ้าป่า 10 ล้านบาท พร้อมทั้งคณะลูกศิษย์ และร่วมกันทำโรงทานมากกว่า 100 ร้านค้า ส่วนผู้ที่เดินทางมารับบริจาคทานมีมากกว่า 2,000 คน ซึ่งงานผ้าป่าในวันนั้นอาจารย์เอไม่คิดเลยว่าจะมีคนมารับบริจาคทานมากขนาดนี้ และตัวอาจารย์เอก็รู้สึกมีความสุขอย่างมากที่ได้ร่วมกันแบ่งปัน เสมือนเราสามารถต่อชีวิตให้กับคนที่ไม่มีได้อีกหลายวัน